0

ถูกแชร์ทั้งหมด

          กว่าที่ปิโตรเลียมจะเกิดขึ้นได้ต้องใช้เวลาหลายร้อยล้านปี เมื่อจำนวนคนบนโลกเพิ่มขึ้น ทำให้ความต้องการใช้พลังงานสูงขึ้นเช่นกัน จึงเป็นไปได้ที่พลังงานจากฟอสซิลเหล่านี้จะหมดลงในวันหนึ่งข้างหน้า ดังนั้นการเร่งค้นคว้าหาแหล่งพลังงานใหม่ ๆ มาใช้ทดแทนจึงเป็นทางออกของพลังงานที่จำเป็นอย่างยิ่ง

เรียกว่า พลังงานสิ้นเปลือง เช่น ถ่านหิน นิวเคลียร์ หินน้ำมัน ทรายน้ำมัน เป็นต้น

เรียกว่า พลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานชีวมวล พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ พลังงานลม เป็นต้น

01 พลังงานชีวมวล

ชีวมวล คือสารอินทรีย์ที่เป็นแหล่งกักเก็บพลังงานจากธรรมชาติ เช่น เศษไม้ มูลสัตว์ วัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตร แกลล ฟางข้าว ขยะ ของเหลือจากอุตสาหกรรมหรือชุมชน เป็นต้น การใช้ชีวมวลเพื่อทำให้เป็นพลังงานทำได้โดย

  • การเผา คือ นำชีวมวลมาเผาไหม้เพื่อนำพลังงานความร้อนไปผลิตไอน้ำ และนำไอน้ำนี้ไปขับกังหันเพื่อใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า
  • การหมัก เป็นการนำชีวมวลมาหมักด้วยแบคทีเรียในสภาวะไร้อากาศ ชีวมวลจะถูกย่อยสลายและแตกตัว เกิดเป็นก๊าซชีวภาพ ใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์สำหรับผลิตกระแสไฟฟ้า หรือใช้เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือนก็ได้

02 พลังงานจากแสงอาทิตย์

เป็นพลังงานที่สามารถหมุนเวียนมาใช้ได้ตลอด แถมยังเป็นพลังงานสะอาดอีกด้วย โดยมีเซลล์แสงอาทิตย์ หรือ โซล่าเซลล์ เป็นอุปกรณ์สำคัญในการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าหรือความร้อน โดยเมื่อมีแสงมาตกกระทบ สารกึ่งตัวนำในโซล่าเซลล์จะเปลี่ยนเป็นพาหะนำไฟฟ้าและแยกเป็นประจุไฟฟ้าบวก และ ลบ เพื่อให้เกิดแรงดันที่ขั้นทั้งสอง เมื่อน้ำอุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสตรงมาต่อเข้ากับขั้วบวกและขั้วลบ กระแสไฟฟ้าจะไหลเข้าสู่อุปกรณ์เหล่านั้นทำให้สามารถใช้งานได้ตามต้องการ

  • ส่วนการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตเป็นพลังงานความร้อน จะใช้ในการอบแห้งผลิตผลทางการเกษตร การผลิตน้ำร้อน ด้วยหลักการหมุนเวียนน้ำตามธรรมชาติ โดยยกถังเก็บน้ำขึ้นที่สูง แล้วปล่อยให้น้ำไหลผ่านความร้อนจากแผงรับแสงอาทิตย์ หรือใช้ปั้มน้ำเพื่อหมุนเวียนน้ำซึ่งเหมาะกับการผลิตน้ำร้อนจำนวนมากและใช้งานต่อเนื่อง

03 พลังงานน้ำ

เกิดจากการเปลี่ยนพลังงานจลของน้ำที่ไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ ให้ไหลผ่านกังหันน้ำซึ่งทำหน้าที่หมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าอีกทอดหนึ่ง

04 พลังงานจากกระแสลม

โดยใช้กังหันลมเป็นอุปกรณ์เพื่อเก็บกักพลังงานจลจากกระแสลมไว้ แล้วเปลี่ยนเป็นพลังงานในรูปอื่น ๆ เช่น กังหันลมเพื่อสูบน้ำ หรือผลิตกระแสไฟฟ้า โดยไม่ว่าจะเป็นกังหันลมรูปแบบใดต่างก็เป็นพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมทั้งนั้น

05 เอทานอล

คือ แอลกอฮอล์ ที่ได้จากการหมักพืชผลทางการเกษตรที่มีปริมาณแป้ง น้ำตาล หรือมีเส้นใยมาก เช่น กากน้ำตาล อ้อย มันสำปะหลัง ธัญพืช เป็นต้น สามารถนำมาใช้แทนน้ำมันเชื้อเพลิงได้โดยตรงหรือนำมาผสมเพื่อเพิ่มค่าออกเทนให้กับน้ำมันเชื้อเพลิง คือ น้ำมันแก๊สโซฮอล์ เป็นส่วนผสมของน้ำมันเบนซิน กับ เอทานอล สำหรับใช้กับเครื่องยนต์เบนซิน นับว่าเราโชคดีที่ปลูกพืชเหล่านี้ได้มากในประเทศไทยนะครับ

06 ไบโอดีเซล

คือ น้ำมันที่ได้จากพืช เช่น ปาล์ม มะพร้าว ถั่วเหลือง เมล็ดทานตะวัน สบู่ดำ สาหร่าย หรือ ไขมันสัตว์ น้ำมันปรุงอาหารที่ใช้แล้ว ไปผ่านกระบวนการ ทรานเอสเตอริฟิเคชั่น (Transesterification) ด้วยการนำผสมกับแอลกอฮอล์ แล้วใช้กรดหรือเบส เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ 2 ชนิด คือ
  • ไบโอดีเซล ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ทางการเกษตร หรือนำไปผสมกับน้ำมันดีเซล เพื่อใช้สำหรับรถยนต์เครื่องยนต์ดีเซล ซึ่งมีการผสมใช้อยู่ในปัจจุบัน
  • กลีเซอรีน ที่ใช้อุตสาหกรรมยาและเครื่องสำอาง

          รู้หรือไม่ คนไทยสร้างขยะรวมกันมากกว่า 27 ล้านตันต่อปี เฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ มีขยะถูกทิ้งมากถึงเกือบ 1 ใน 5 ของทั้งประเทศ และยังพบว่าปริมาณขยะในไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นผลมาจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ชุมชนเมืองขยายตัว การท่องเที่ยว และปริมาณการบริโภคที่เพิ่มขึ้น คำถามคือ จะทำอย่างไรให้ปริมาณขยะเหล่านี้ลดลง คำตอบของคำถามนี้คงต้องเริ่มต้นที่ตัวเราทุกๆ คน นั่นคือ การลดการสร้างขยะ โดยเริ่มต้นลดขยะที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันลง และหนึ่งในแนวคิด ในการลดปริมาณขยะ ที่ทุกคนสามารทำได้ง่าย ๆ คือ ลดขยะตามแนวคิด 3R

          หลักการใช้ 3R เป็นแนวคิดและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าประกอบด้วย ใช้น้อย (Reduce) ใช้ซ้ำ (Reuse) และแปรรูปนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) เป็นวิธีการง่าย ๆ ที่สามารถทำได้ทุกคน

(Reduce) ใช้น้อยหรือลดการใช้ หมายถึง การลดปริมาณการใช้ลง โดยใช้เท่าที่จำเป็น หลีกเลี่ยงการใช้อย่างฟุ่มเฟือย เพื่อลดการสูญเปล่าและลดปริมาณขยะให้มากที่สุดเช่น

  • ใช้ถุงผ้า ตะกร้า เพื่อลดการใช้ถุงพลาสติก
  • ใช้ผ้าเช็ดหน้าแทนการใช้กระดาษทิชชู่
  • ปฏิเสธการรับถุงพลาสติก เมื่อซื้อของน้อยชิ้น
  • เลือกซื้อบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • หลีกเลี่ยงใช้วัสดุสิ้นเปลืองแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง

(Reuse) ใช้ซ้ำ หมายถึง การนำของเสีย บรรจุภัณฑ์หรือวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้อีกโดยไม่ผ่านการแปรรูปหรือแปรสภาพเช่น

  • ใช้กระดาษสองหน้า
  • เสื้อผ้าเก่านำไปบริจาค หรือใช้ถูพื้น
  • ซ่อมแซมอุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่ทิ้งเป็นขยะ
  • การทำสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้

(Recycle) แปรรูปนำกลับมาใช้ใหม่ หมายถึง การนำขยะมารีไซเคิล นำของเสีย บรรจุภัณฑ์หรือวัสดุเหลือใช้ มาแปรรูปเป็นวัตถุดิบในการผลิต หรือผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น

  • กระป๋องน้ำอัดลม นำมาทำขาเทียม
  • ขวดน้ำดื่ม PET นำมาทำเสื้อเส้นใยสังเคราะห์
  • กระดาษหนังสือพิมพ์ นำมาทำกล่องกระดาษทิชชู่
  • ขวดนม UHT นำมาทำเฟอร์นิเจอร์ เช่น เก้าอี้

"ทุกคนควรลงมือปฏิบัตตั้งแต่วันนี้ เพื่อช่วยโลกของเรา"

ดินแดนปิโตรเคมี

      ปิโตรเคมีเป็นการนำทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติหรือน้ำมันดิบบางส่วน มาแปรสภาพในกระบวนการทางเคมี เพื่อสร้างผลผลิตใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะการผลิตวัสดุแทนวัสดุธรรมชาติที่กำลังจะหมดไป ดังนั้น ผลิตภัณฑ์พลาสติก ใยสังเคราะห์ ยางสังเคราะห์ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกผลิตขึ้นมาใหม่ จึงเป็นวัสดุที่สำคัญในปัจจุบัน