0

ถูกแชร์ทั้งหมด

          น้ำมันสำเร็จรูปชนิดต่าง ๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล ฯลฯ แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่า “น้ำมันสำเร็จรูป” ที่ใช้กันอยู่นั้นได้มาจากไหน ”น้ำมันดิบ” แล้ว “น้ำมันดิบ”คืออะไร วันนี้มีคำตอบ

          “น้ำมันดิบ คือ ปิโตรเลียมที่มีสถานะเป็นของเหลวส่วนมากมีสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม และ มีลักษณะข้นหนืด มีกลิ่นฉุนคล้ายน้ำมันเชื้อเพลิงสำเร็จรูป แต่ยังไม่สามารถนำไปใช้ได้ ต้องนำไปผ่านกระบวนการกลั่นลำดับส่วนเพื่อแยกสารประกอบต่าง ๆ ในน้ำมันดิบออกมาก่อน เพื่อให้เป็นเป็นผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงสำเร็จรูป ที่ใช้สำหรับเติมเครื่องยนต์ประเภทต่าง ๆ นอกจากนั้นยังสามารถผลิตเป็นก๊าซหุงต้ม และ สารตั้งต้นในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี”

          น้ำมันดิบจากแหล่งผลิตแต่ละที่ อาจมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่ผสมอยู่ ซึ่งประเทศไทยสามารถผลิตน้ำมันดิบได้เอง คิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 13% ของการใช้งานจริงซึ่งไม่เพียงพอต่อการใช้งานในประเทศ จึงต้องนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศ ซึ่งมีปริมาณมากถึงร้อยละ 87% จากแหล่งผลิตต่าง ๆ อาทิ


เช่น แหล่งน้ำมันซาอุดิอาระเบีย น้ำมันดิบโอมาน น้ำมันเมอร์บาน จากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ฯลฯ


เช่น น้ำมันดิบทาปีส จากประเทศมาเลเซีย น้ำมันดิบซีเรียไลท์ ประเทศบรูไน


แหล่งน้ำมันจัสมิน แหล่งน้ำมันบัวหลวง แหล่งน้ำมันนางนวล แหล่งน้ำมันเบญจมาศ แหล่งน้ำมันทานตะวัน และ แหล่งอื่น ๆ


เช่น แหล่งน้ำมันฝาง จ.เชียงใหม่ แหล่งน้ำมันสิริกิติ์ จ.กำแพงเพชร และ แหล่งน้ำมันอู่ทอง จ.สุพรรณบุรี

          เมื่อเราได้น้ำมันดิบมาแล้ว ยังไม่สามารถใช้งานได้ทันทีจะต้องนำน้ำมันดิบที่ได้ ไปผ่านกระบวนการแยกสารประกอบต่าง ๆ ออกมา โดยใช้จุดเดือดที่แตกต่างกัน เราเรียนว่า “การกลั่น” (Refining)

          การกลั่นน้ำมันดิบ ต้องใช้อุณหภูมิสูงกว่า 360 องศาเซลเซียส จากหอกลั่นลำดับส่วนจะได้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ออกมาเช่น ก๊าซหุงต้ม น้ำมันเบนซิน น้ำมันเครื่องบิน น้ำมั่นดีเซล น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันเตา และ ยางมะตอย

          นอกจากนั้นยังได้เคมีภัณฑ์ต่าง ๆ ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นวัตถุดิบ (สารตั้งต้น) ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเพื่อใช้ทำ พลาสติก ใยสังเคราะห์ และ ยางสังเคราะห์ ได้อีกด้วย

พลังงานหมุนเวียน

      กว่าที่ปิโตรเลียมจะเกิดขึ้นได้ต้องใช้เวลาหลายร้อยล้านปี เมื่อจำนวนคนบนโลกเพิ่มขึ้น ทำให้ความต้องการใช้พลังงานสูงขึ้นเช่นกัน จึงเป็นไปได้ที่พลังงานจากฟอสซิลเหล่านี้จะหมดลงในวันหนึ่งข้างหน้า ดังนั้นการเร่งค้นคว้าหาแหล่งพลังงานใหม่ ๆ มาใช้ทดแทนจึงเป็นทางออกของพลังงานที่จำเป็นอย่างยิ่ง